กรวยจรจา

กรวยจราจร เป็นวัสดุ EVA 

- กรวยจราจร เป็นวัสดุ EVA ซึ่งรถทับไม่แตก ที่ประเทศไทยเลือกใช้

- ใช้แถบสะท้อนแสง 3M ซึ่งทำให้เวลากลางคืนมองเห็นได้ชัดเจน และอายุการใช้งานยาวนานมากถึง 5 ปี

- กรวยจราจรรุ่นนี้ มีขนาดใหญ่ถึง 100 ซม. ทำให้ผู้ใช้รถมองเห็นชัดเจนในเวลากลางวัน และ กลางคืน เป็นขนาดมาตรฐานที่เลือกใช้กัน

- ทำโลโก้หรือชื่อหน่วยงานได้ ซึ่งทำให้สินค้า มีความเป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนขององค์กร หรือ หน่วยงานได้

- เป็นวัสดุEVAซึ่งทนต่อแสง UV ทำให้สีไม่ซีดจาง อายุการใช้งานยาวนาน

 

 

ในเรื่องการจราจร หรือในระบบลานจอดรถจะพบเห็นได้ว่า สิ่งที่ช่วยป้องกันความปลอดภัยจะมีอุปกรณ์จราจรมากมายในปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือกรวยจราจร มารู้จักกรวยจราจร กันก่อน ซึ่งพบเห็นได้ในทุกที่ ทั้งตามสถานที่ใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า บริษัท หรือตามหมู่บ้านต่างๆ  เป็นเหมือนการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน  หรือใช้เมื่อมีการก่อสร้างบนท้องถนน งานจราจร ต่าง ๆ หรือตามสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยบนท้องถนน  ที่สำคัญเป็นอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ยานพาหนะ  ในการลดความเร็ว และเกิดความระวังในการใช้ถนน ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทั้งกลางวัน และกลางคืนเพราะด้วยสีของกรวย และมีแถบสะท้อนแสงในตัว

 

ที่มาของกรวยจราจร

กรวยจราจร (traffic cone) เกิดขึ้นในปี 1940 หรือประมาณ 74 ปีก่อน โดยชาวอเมริกา Charles D. Scanlon โดยเขาทำงานเป็นพนักงานทาสีถนนให้กับเมืองลอสแองเจลิส เพราะการเป็นพนักงานทาสีนี่เอง ที่ทำให้ Scanlon ต้องใช้เครื่องหมายบอกคนใช้ถนนว่าสียังไม่แห้ง ภายหลัง Scanlon ยื่นขอสิทธิบัตร กรวยจราจร นี้ในชื่อ “Safety marker” และได้รับสิทธิบัตรในปี 1943 ได้หมายเลขสิทธิบัตร US2333273  กรวยยุคเริ่มแรกนั้นรีไซเคิลมาจากแกนใยถักในยางรถยนต์ ส่วนที่เน้นเป็นพิเศษในกรวยยุคแรกคือฐานของกรวยนั้นต้องเป็นลูกกลมยกให้ตัวฐานกว้างสูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย เพื่อให้วางทับเส้นถนนที่เพิ่งทาสีได้ แนวทางการออกแบบนี้เริ่มหายไปในยุคหลังเพราะเราใช้กรวยมากั้นถนนในเหตุการณ์อื่นๆ นอกจากการทาสีถนนแล้ว

วัสดุของกรวยจราจร

กรวยจราจรผลิตจากยาง หรือ เม็ดพลาสติก EVA และ PE ผสมกับสีป้องกัน UV จากแสงแดด โดยวัดความแข็งแรงของอุปกรณ์ชนิดนี้ได้จากการขับรถทับซึ่งก็ยังมีความทนทานอยู่แต่ก็ยังไม่แตก ที่มีความสูงมาตรฐานตั้งแต่ 45 – 100 เซนติเมตร ความสูงที่นิยมใช้คือ 80 เซนติเมตร และคาดแถบสะท้อนแสงสีขาว ซึ่งเป็นแถบสีขาว (ที่สีไม่เด่นเท่าสีของกรวย) มีการผลิตหลายแบบ ที่ท่านสามารถเลือกหลายรุ่นหลายขนาด เหมาะสมกับการใช้งาน สามารถใช้ได้ทั้งภายใน หรือภายนอกอาคาร ทั้งนี้ยังทนต่อทุกสภาพอากาศ และด้วยสีส้มทำให้ผู้ขับขี่สามารถพบเห็นได้ในเวลากลางคืน

การวางกรวยที่ถูกต้อง

หากอยู่ดีๆ คนธรรมดาปกติไปเรียงกรวยเล่นๆ บนท้องถนน จะถูกคุณตำรวจลงโทษในข้อหากีดขวางทางจราจร เพราะผู้ที่สามารถวางกรวยบนถนนจะทำได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น และหากไปจับเล่น สามารถโดนโทษได้อีกเหมือนกัน เพราะกรวยจราจรเป็นทรัพย์สินของทางราชการ แต่ถ้าเป็นกรวยซื้อมาเอง ก็สามารถจับได้ เพื่อเอาไปใช้งานในการวางในเขตที่อยู่อาศัยของตัวเอง แต่อย่าเดือดร้อนถึงคนอื่น เพราะคนที่เดือดร้อนสามารถแจ้งคุณตำรวจมาจับเจ้าของกรวยได้เช่นกัน

ประโยชน์ของกรวยจราจร

  • ใช้ล้อมรอบอาณาเขต เพื่อกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ล้อม
  • ตั้งไว้สำหรับเป็นสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง หรือมีสิ่งกีดขวางบนผิวถนน
  • ตั้งไว้เพื่อเตือนว่า ทางข้างหน้าอาจจะมีอุบัติเหตุ , เป็นเขตก่อสร้าง หรือ ซ่อมแซมถนน
  • ใช้ในการแบ่งหรือรวมช่องทางการจราจร ในการวิ่งของรถบนถนน
  • ใช้ตั้งด่านสกัดกั้นเส้นทางของตำรวจ เพื่อบังคับรถให้วิ่งตามทางที่กำหนด
  • ใช้สกัดกั้นปิดเส้นทาง ไม่ให้ยานพาหนะต่างๆ วิ่งผ่านไปได้
Visitors: 230,239