9 มาตรฐานอุปกรณ์ PPE ตามกฎหมายของไทย

 

อ้างถึง พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปี 2554

มาตรา 22 วรรคหนึ่ง

กำหนดให้นายจ้างจัด และดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐาน ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

ในปีเดียวกันจึงมีประกาศกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personnel protective equipment : PPE) ดังกล่าวออกมา นั่นคือ

ประกาศกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ประกาศนี้สามารถใช้เป็นแนวทาง สำหรับผู้ใช้งานที่จัดซื้อ จัดหา และใช้งานอุปกรณ์ PPE ให้เหมาะสมกับชนิด หรือประเภทของงานที่ทำอยู่

 

 

1. มาตรฐานผลิตภัณอุตสาหกรรม

- สัญลักษณ์ คือ มอก.หรือ TIS

2. มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standization and Organiztion)

- สัญลักษณ์ ISO

3. มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards)

- สัญลักษณ์ คือ EN หรือ CE

4. มาตรฐานประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards)

- สัญลักษณ์ คือ ANSI

5. มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute)

- สัญลักษณ์ คือ ANSI

6. มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards)

- สัญลักษณ์ คือ JIS

7. มาตรฐานสถาบัตรความปลอดภัย และอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health)

- สัญลักษณ์ คือ NIOSH

8. มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงานประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration)

- สัญลักษณ์ คือ OSHA

9. มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association)

- สัญลักษณ์ คือ NFPA

 

Visitors: 231,853