วิธีการใช้งานถังดับเพลิง


 

1.เข้าไปทางเหนือลมโดยห่างจากฐานของไฟประมาณ 2 - 3 เมตร

2.ดึงสลักหรือลวดที่รั้งวาล์วถังดับเพลิงออก

3.ยกหัวฉีดปากกลวยชี้ไปที่ฐานของไฟ ( ทำมุมประมาณ 45 องศา )

4.บีบไกเพื่อเปิดวาล์วถังดับเพลิงให้ก๊าซพุ่งออกมา

5.ให้ฉีดไปตามทางยาว และกราดหัวฉีดไปช้าๆ

6.ดับให้สนิทจนแน่ใจแล้ว จึงฉีดต่อไปข้างหน้า

                                                                                                                

 

 

เครื่องดับเพลิงออโตเมติก

จะทำการฉีดพ่นสารเคมีในจุดเพลิงไหม้ได้เองโดยอัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิของเพลิงไหม้ร้อนถึง 68 องศาเซลเซียส (68°C) ปรอทแก้วสีแดงของสปริงเกอร์จะแตกออก แล้วทำการพ่นสารเคมีโดยอัตโนมัติ เครื่องดับเพลิงชนิดนี้เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่อับและไม่สามารถเข้า-ออกได้สะดวก

 

ประสิทธิภาพในการดับไฟ

ผงเคมีจะเข้าไปทำหน้าที่ลดอุณหภูมิความร้อน ของไฟให้ต่ำลงซึ่งเป็นต้นเหตุ ของเพลิง CLASS A และทำหน้าปกคลุมกั้นออกซิเจนออกจากเพลิง คุมไฟให้อับอากาศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเพลิงไฟใน CLASS B และ C เพียงเท่านี้เพลิงก้จะดับลงในที่สุด

การนำไปใช้งาน

1.สามารถติดตั้งไว้กับตู้เบรกเกอร์ หรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงซึ่งอาจจะเกิดไฟไหม้ได้สูง เพื่อเป็นการป้องกันเหตุ และดับไฟได้ในทันที เมื่อเกิดเหตุการณ์

2.ใช้ในการดับเพลิง โดยการปาลูกบอลไปในกองเพลิง ซึ่งมีรัศมีของไฟไม่เกิน 4 ตร.ม.

ชั้นนอกสุด

มาเริ่มกันที่ชั้นนอกสุดหรือเป็นชั้นที่มีความสำคัญมากที่สุดเพราะต้องสัมผัสกับความร้อนก่อนเป็นอันดับแรก จึงต้องมีความประณีตและดีงามตั้งแต่ขั้นตอนของการตัดเย็บ และจะต้องมีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันการลุกลามการติดไฟได้ด้วยเช่นเดียวกัน อีกทั้งจะต้องผ่านการทดสอบการต้านทานความร้อนสูงก่อนการนำมาใช้งาน เพื่อทดสอบดูว่าสามารถทนความร้อนได้สูงและทนต่อการใช้งานที่สมบุกสมบันในพื้นที่อัคคีภัยได้ด้วยหรือไม่

 

ชั้นตัวกั้นน้ำ

สำหรับในชั้นนี้ จะมีคุณสมบัติช่วยต้านทานความร้อนได้โดยเฉพาะ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกซึมเข้ามาสู่ภายใน เพราะน้ำเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ ดังนั้น ชุดดับเพลิงจึงต้องมีลักษณะแห้งอยู่เสมอ และต้องมีน้ำหนักเบาด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น ชั้นนี้จึงต้องมีคุณสมบัติทนทาน และกันความร้อนได้ดี อีกทั้งยังต้องมีลักษณะระบายอากาศได้ดี ลดปริมาณน้ำและความร้อนจากภายในสู่ภายนอกได้อย่างดีเยี่ยมด้วยเช่นเดียวกัน

 

ชั้นตัวกั้นความร้อน

มาต่อกันที่ชั้นที่ 3 ของชุดดับเพลิงนั่นก็คือ ชั้นตัวกั้นความร้อน ซึ่งภายในจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนความร้อน ส่งผลทำให้ไร้น้ำหนักและมีความต้านทานความร้อนได้เป็นอย่างดี ซึ่งในชั้นนี้ หากมีช่องอากาศมากเท่าไหร่ยิ่งดีต่อนักดับเพลิงมากเท่านั้น เพราะจะทำให้มีอการนำเอาอากาศมาเป็นฉนวนกันความร้อน หรือป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วซึมของน้ำอย่างง่ายดายนั่นเอง อีกทั้งทำให้เกิดความสะดวกสบายต่อการทำงานของนักดับเพลิง เพราะจะทำให้เกิดความเบาบางไร้น้ำหนัก และเกิดความคล่องตัวในการทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

 

ชั้นในสุด

ถัดออกมาจากนั้นก็จะเป็นชั้นในสุด ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ติดกับผู้สวมใส่มากที่สุด มีลักษณะเป็นผ้าปิดคลุม จึงมีความอ่อนนุ่มและลื่น เพื่อให้เกิดความสบายและเกิดความคล่องแคล่วในการทำงาน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการซับเหงื่อที่ไหลออกมาได้เป็นอย่างดี เพราะเนื่องจากชุดดับเพลิงนั้นมีลักษณะหนาเตอะและร้อนเป็นอย่างมาก จะทำให้นักดับเพลิงทำงานได้ไม่สะดวกและอาจจะเป็นอันตรายในขณะปฎิบัติหน้าที่อยู่ได้ด้วยนั่นเอง

- พื้นที่อันตรายน้อย (Light hazard occupancies)

ได้แก่ที่พักอาศัย,สํานักงานทั่วไป,ภัตตาคาร(ส่วนรับประทานอาหาร),โรงภาพยนตร์ และศูนย์การประชุม (ไม่รวมเวที และเวทีหลังม่าน), โบสถ์, วัด และวิหาร, สถานศึกษา, สถาบันต่างๆ, โรงพยาบาล, สถานพยาบาลและพักฟื้น, ห้องสมุด (ยกเว้นห้องสมุดที่มีชั้นวางหนังสือขนาดใหญ่) และพิพิธภัณฑ์

- พื้นที่อันตรายปานกลาง (Ordinary hazard occupancies) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1  ได้แก่ ที่จอดรถยนต์ และห้องแสดงรถยนต์, โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์, โรงงานผลิตเครื่องดื่ม, ร้านทําขนมปัง, ร้านซักผ้า, โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง, โรงงานผลิตแก้วและวัสดุที่ทําจากแก้ว, ภัตตาคาร (ส่วนบริการ) และโรงงานผลิตเครื่องบริโภคประจําวัน

กลุ่มที่ 2  ได้แก่ โรงงานผลิตสินค้าที่ทําจากหนังสัตว์, โรงงานผลิตลูกกวาด, โรงงานผลิตสิ่งทอ, โรงงานยาสูบ, โรงงานประกอบผลิตภัณฑ์ไม้, โรงพิมพ์และสิ่งพิมพ์โฆษณา, โรงงานที่ใช้สารเคมี, โรงสีข้าว, โรงกลึง, โรงงานประกอบผลิตภัณฑ์โลหะ, โรงต้มกลั่น, อู่ซ่อมรถยนต์, โรงงานผลิตยางรถยนต์, โรงงานแปรรูปไม้ด้วยเครื่อง, โรงงานกระดาษและผลิตเยื่อกระดาษ, โรงงานผลิตภัณฑ์กระดาษ, ร้านค้า, ท่าเรือ, โรงงานผลิตอาหารสัตว์, เวทีแสดง, ที่ทําการไปรษณีย์, ห้องสมุด (มีชั้นเก็บหนังสือขนาดใหญ่) และร้านซักแห้ง

- พื้นที่อันตรายมาก (Extra hazard occupancies) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1  พื้นที่กลุ่มนี้จะมีลักษณะการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ ของเหลวติดไฟ (Combustible liquid) หรือของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) ในปริมาณไม่มาก ได้แก่ โรงเก็บและซ่อมเครื่องบิน, โรงงานผลิตไม้อัดและไม้แผ่น, โรงพิมพ์ (ใช้หมึกพิมพ์ที่มีจุดวาบไฟตํ่ากว่า 37.9 °C), อุตสาหกรรมยาง, โรงเลื่อย, โรงงานสิ่งทอรวมท้ังโรงฟอก ย้อม ปั่นฝ้าย เส้นใย สังเคราะห์ และฟอกขนสัตว์ และโรงทําเฟอร์นิเจอร์ด้วยโฟม

กลุ่มที่ 2  พื้นที่กลุ่มนี้จะมีลักษณะการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับของเหลวติดไฟ (Combustible liquid) หรือของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) ปริมาณมากๆ ได้แก่ โรงงานผลิตยางมะตอย, โรงพ่นสี, โรงกลั่นน้ํามัน, โรงงานผลิตนํ้ามันเครื่อง, โรงชุบโลหะที่ใช้นํ้ามัน, อุตสาหกรรมพลาสติก, พื้นที่ล้างโลหะด้วยสารละลาย หรือ การเคลือบสีด้วยการจุ่ม

- ระบบท่อยืน และตู้หัวฉีดดับเพลิง

แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ ระบบท่อเปียกโดยอัตโนมัติ (Automatic wet) และระบบท่อเปียกควบคุมด้วยมือ (Manual wet)

โดยมีหลักเกณฑ์การเลือกใช้วัสดุท่อนํ้าในระบบท่อยืน และตู้หัวฉีดดับเพลิง จะต้องเป็นท่อเหล็กผิวเรียบ ทาสีแดง (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33) ซึ่งจะต้องเป็นท่อที่ได้มาตรฐาน ASTM, JIS และ BS เท่านั้น

- ระบบหัวกระจายนํ้าดับเพลิง

แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ ระบบท่อเปียก (Wet pipe system) ซึ่งเป็นระบบที่นิยมใช้มากในอาคารทั่วไป และระบบท่อแห้ง (Dry pipe system)

โดยมีหลักเกณฑ์การเลือกใช้วัสดุท่อนํ้าในระบบหัวกระจายนํ้าดับเพลิง (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33) จะต้องเป็นท่อที่ได้มาตรฐาน ASTM, JIS และ BS เท่านั้น

Visitors: 230,107