เกร็ดความรู้ 2 (Knowledge 2)

1. ดำรงตนด้วยสติ MINDFUL

2. มีวินัย ใส่ใจกฎระเบียบ DISCIPLINE

3. ตระหนักถึงภัยที่อาจเกิดกับตัวเรา SENSE OF VULNERABILITY

4. กล้าพูดแสดงความห่วงใย เปิดใจรับฟัง SPEAK UP...OPEN MIND

5. หยุด ถ้าไม่ปลอดภัย จัดการแก้ไขทันที STOP IF NOT SAFE. CORRECT IMMEDIATELY

6. แจ้งเหตุการณ์...ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ADDRESS ABNORMAL CONDITION

7. ใช้อุปกรณ์ให้ถูกต้อง ดูแลให้อยู่ในสภาพดี MAINTAIN EQUIPMENT RELIABILITY

8. รักษาสุขภาพกายใจ...ให้แข็งแรง MAINTAIN HEALTHY, BODY & MIND

9. หาโอกาสชื่นชมตัวเองและผู้อื่นเมื่อทำงานปลอดภัย RECOGNIZE YOURSELF AND OTHERS

   

“หลักแห่งความปลอดภัยในการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (3E)”

   ถ้ากิจการอุตสาหกรรมมีครบ 3 หลักนี้ องค์กรของเราก็จะมีประสิทธิภาพและความความปลอดภัยในการทำงาน แน่นอนค่ะ อย่าลืมตรวจสอบกันนะคะว่าในองค์กรของเรามีหลัก 3 E ครบทุกหลักกันหรือยัง

EDUCATION

   พัฒนาทักษะบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องจักร โดยการฝึกอบรมสร้างเสริมความเข้าใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการทำงาน หรือการใช้อุปกรณ์เครื่องจักรให้ถูกต้องตามหลักความปลอดภัย

ENFORCEMENT

   กำหนดระเบียบ หรือข้อบังคับด้านความปลอดภัยที่จำเป็นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องจักรให้รับทราบ และถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับอุปกรณ์เครื่องจักร

ENGINEERING

   นำหลักการทางด้านวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการดำเนินงาน ตั้งแต่การคำนวนออกแบบ การสร้าง ติดตั้ง การใช้งาน และการซ่อมแซมเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอย่างปลอดภัย


  

              KYT คือ วิธีการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน พร้อมทั้งกำหนดมาตรการ หรือวิธีการจัดการอันตรายเหล่านั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย


 

KYT เป็นเครื่องมือหรือเทคนิคในการวิเคราะห์ความปลอดภัยที่คิดค้นมาจากประเทศญี่ปุ่น 

โดยคำว่า เควายที เป็นตัวย่อมาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้

K (Kiken)       หมายถึง     อันตราย

Y (Yoshi)        หมายถึง     การวิเคราะห์ คาดการณ์ หรือทำนายล่วงหน้า

T (Trainning)  หมายถึง     การฝึกอบรม

 

 

หัวใจสำคัญของ KYT มี 4 ประการ คือ

1. ปลูกจิตสำนึก ด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง

2. คิด พิจารณาก่อนที่จะทำงานก่อนทุกครั้ง ว่าสามารถป้องกันอันตายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร

3. อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ ให้คำมั่นสัญญา  หรือปฏิญาณตน ของผู้ปฏิบัติงานก่อนลงมือปฏบัติงานทุกครั้ง

4. เตือนตนเอง ก่อนลงมือทำงานทุกอย่างต้องพร้อม และปลอดภัยต่อการทำงาน จึงเริ่มทำงานได้

 

 

 


 

4 ขั้นตอนการทำ KTY

1. เพื่อหาอันตรายที่มีอยู่ในการทำงาน

2. เรียงลำดับความสำคัญของอันตรายแต่ละอย่าง

3. มาตรการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขให้ดีที่สุด

4. เลือกมาตรการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขที่ดีที่สุด

 

 

ประโยชน์ของ KYT

- ปลุกจิตสำนึกในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ด้วยการค้นหาอันตรายต่างๆ

- ฝึกพนักงานรู้จักอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้

- เตือนสติพนักงานก่อนลงมือทำงาน กระตุ้นให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง

- ช่วยค้นหาอันตรายแอบแฝงอยู่ในการทำงาน ซึ่งอาจเกิดจากผู้ปฏิบัติงาน หรือสิ่งแวดล้อม

- พนักงานได้มีส่วนร่วมในการค้นหา และกำหนดวิธีการป้องกันอันตรายจากการทำงาน

- ทำให้เกิดความสามัคคี ในการดำเนินกิจกรรม สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย

 


         วัตถุดิบที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและอุตสาหกรรม คือ สารเคมี และสารเคมีบางประเภทคือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย


          แก่ผู้ปฏิบัติงานหรือสิ่งที่เรียกว่า สารเคมีอันตราย การทำงานกับสารเคมีอันตราย สารเคมีรั่วไหล ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับสารเคมี
          อันตราย เช่น การผลิตการควบการหกรั่วไหลสารเคมี การติดฉลาก การห่อหุ้ม การเคลื่อนย้าย การเก็บรักษา การถ่ายเท การขนถ่าย
          การขนส่ง การกำจัด การทำลายการเก็บสารเคมีอันตรายที่ไม่ใช้แล้ว รวมทั้ง การป้อง การบำรุงรักษา การซ่อมแซม
          และการทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนภาชนะบรรจุ
สารเคมีอันตราย การกำหนดตามมาตรฐานในการบริหารจัดการสารเคมี
          และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อเหตุการณ์

          ฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล และมีความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม


 

 สารเคมี คืออะไร?

สารพิษ (Poisons) คือ สารเคมีที่มีสภาพเป็นของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายระหว่างการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการสัมผัสทางผิวหนัง และการหายใจ

 

 

อุปกรณ์ป้องกันอันตราย

1. หมวกนิรภัย ใช้ป้องกันศีรษะจากการกระแทก

2. ถุงมือ ใช้ป้องกันสารเคมี สิ่งปนเปื้อน และการติดเชื้อ

3. รองเท้าบูท ใช้ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี และการซึมผ่านของน้ำ

4. แว่นครอบตา/หน้ากาก แว่นควรมีวาล์วระบายความร้อนใช้สำหรับหน้างานที่มีไอสารเคม

5. ชุดกันสารเคมี ใช้ป้องกันการกระเด็นของสารเคมี และละอองน้ำสกปรก


 

 

 

อันตรายของสารเคมี

ชนิดกัดกร่อน (Corrosive) ทำให้เนื้อเยื้อของร่างกายไหม้พอง ได้แก่ สารละลายพวกกรด และด่างเข้มข้น น้ำยาฟอก

ชนิดทำให้ระคายเคือง (Irritants) ทำให้เกิดอาการปวดแสบ และอักเสบในระยะต่อมา เช่น ฟอสฟอรัส สารหนู อาหารเป็นพิษ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ชนิดที่มีผลกระทบต่อระบบประสาท ส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ทำให้หมดสติ หรือเกิดอาการเพ้อคลั่ง ชีพจรเต้นเร็ว เช่นใบยาสูบ ทินเนอร์

 

 

หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ได้รับสารเคมี

ผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผิวหนัง ให้ล้างผิวหนังบริเวณที่ถูกสารเคมี โดยใช้น้ำสะอาดล้างให้มากที่สุด เพื่อให้เจือจางถ้าสารเคมีเป็นกรดให้รีบถอดเสื้อผ้าออกก่อน

ผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้น้ำไหลผ่านตาอย่างน้อย 15 นาที ป้ายขี้ผึ้งป้ายตา แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว

ผู้ได้รับอันตรายจากสารเคมีในการสูดดม ให้ย้ายผู้ที่ได้รับสารนั้นไปที่มีอากาศบริสุทธิ์ ประเมินการหายใจ และการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ช่วยทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการ CPR

 


 

กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.2556

 



 

 

 

 

1. การยกสินค้าสูงเกินกำหนดอาจทำให้สินค้าหล่นทับคนขับรถหรือผู้ปฏิบัติงานที่อยู่บริเวณนั้นได้

2. โฟล์คลิฟท์พลิกคว่ำเมื่อขับรถเร็วหรือน้ำหนักไม่สมดุล

3. การชนหรือทับจนอาจเสียชีวิตได้คนขับโฟล์คลิฟท์มองไม่เห็นผู้ปฏิบัติงานที่เดินอยู่

4. ผู้ปฏิบัติงานอาจตกจากที่สูงหากขึ้นไปยืนบนงาของโฟล์คลิฟท์

5. อุบัติเหตุชนกันไม่มีการกำหนดเส้นทางของโฟล์คลิฟท์หรือมีแต่ไม่เหมาะสม

 

 

 

 

วิธีการป้องกัน

 

1. กำหนดเส้นทางหรือตีเส้นทางเดินของรถโฟล์คลิฟท์

 

2. จัดให้มีป้ายเตือนอันตรายทุกทางแยก หรือทางโค้งที่รถโฟล์คลิฟท์ต้องการสัญจร

 

3. สื่อสารเกี่ยวกับความหมายของป้ายเตือนอันตราย สีของเส้นทางในบริเวณต่างๆ และขั้นตอนการปฏิบัติงานกับรถโฟล์คลิฟท์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ

 

4. ใช้อุปกรณ์ logout/tagout เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องใช้รถโฟล์คลิฟท์

 

5. ใช้อุปกรณ์คลุมพวงมาลัย และใส่กุญแจเมื่อจำเป็น เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องใช้รถโฟล์คลิฟท์

 




 

8 ขั้นตอน วิธีป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

 

 

1. งดใช้มือถือขณะขับรถ

หนึ่งสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุบนท้องถนน

หากมีความจำเป็นต้องทำการติดต่อ

แนะนำให้ใช้หูฟัง หรืออุปกรณ์อื่นๆ ช่วย

 

 

2. คาดเข็ฒขัดนิรภัย

ช่วยกระจายแรงกระแทกที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น

ช่วยป้องกันศีรษะ หรือร่างกายส่วนบนเหวี่ยงไป

กระแทกกับพวงมาลัย หรือบริเวณแผงหน้ารถ

 

 

3. ไม่ขับรถเร็วเกินกำหนด

อย่าเห็นแก่ธุระสำคัญ หรือแม้แต่ความสนุก

จนลืมนึกถึงความปลอดภัย

ของตนเอง และเพื่อนร่วมทาง

 

 

4. นำรถเข้าศูนย์

ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อเช็คระยะ

ความปลอดภัย ก่อนขับระยะทางไกล

เช็คลมยางให้ดีก่อนออกเดินทาง

 

 

5. เปิดไฟให้สัญญาณ

การส่งสัญญาณไฟขณะที่เบรก หรือเลี้ยว

เพื่อสื่อสารกับผู้ขับขี่คนอื่นๆ เป็นสิ่งที่ควรทำ

เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน

 

 

6. ง่วงไม่ขับ

พักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อรู้ว่าต้องเดินทางไกล

ควรนอนอย่างน้อย 7 ชั่วโมง และแวะพักตามจุดพักรถ

เพื่อไม่ให้ร่างกายเหนื่อยล้าจากการเดินทางที่ยาวนาน

 

 

7. เมาไม่ขับ

เพื่อสวัสดิภาพของคุณเอง ห้ามดื่มแล้วขับรถเด็ดขาด

ยังมีอีกหลายวิธีที่ดีกว่า ที่คุณสามารถทำได้

เช่น ให้เพื่อนช่วยขับรถ หรือใช้บริการแท็กซี่

 

 

8. ปฏิบัติตามกฎจราจร

การปฏิบัติตามกฎจราจร ช่วยลดอุบัติเหตุ

และช่วยลดความสูญเสียชีวิต และร่างกาย

เคารพกฎจราจรสักนิดชีวิตคุณจะปลอดภัย

 

 

 



 

6 วิธีขับรถลุยน้ำท่วม และการดูแลหลังขับรถลุยน้ำ

ช่วงนี้เป็นหน้าฝน หลายท่านอาจเผชิญปัญหาต้องขับรถลุยน้ำท่วม เราจึงอยากแนะนำวิธีการขับรถลุยน้ำท่วม และการดูแลหลังจากขับรถลุยน้ำท่วมให้กับทุกท่าน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณและรถที่คุณรักก่อนถึงจุดน้ำท่วมต้องลดความเร็วลง เพราะหากขับรถมีความเร็วผ่านบริเวณน้ำขัง รถจะเบาและอาจเสียการทรงตัวได้อันตราย จะคุมรถไม่อยู่ โดยอย่าให้ความเร็วมากกว่า
60-80 กม. ต่อ ชม.
 
 

1. ลดความเร็วลง

หากขับรถมีความเร็วผ่านบริเวณน้ำขัง รถจะเบา และอาจเสียการทรงตัวได้

แล้วจะรู้ได้ไงว่าระดับน้ำขนาดไหนที่จะขับผ่านได้? ถ้าเป็นรถเก๋งก็ดูประมาณไม่เกิน 30 ซม.

(ฟุตนึงพอดี) ก็ประมาณครึ่งล้อ หากยังขืนลุยต่อโอกาสเครื่องดับก็มี

2. สังเกตระดับน้ำ

สังเกตระดับน้ำว่าสามารถขับผ่านได้หรือไม่

3. ปิดแอร์

เพราะใบพัดอาจพัดน้ำเข้าเครื่องหรือเข้าระบบไฟฟ้าได้

4. ใช้เกียร์ต่ำ

รักษาอัตราเร่งไว้ให้ได้ประมาณ 1500-2000 รอบ ต่ำกว่านี้เครื่องอาจดับ

สูงกว่านี้อาจจะดูดอากาศ และน้ำน้ำเข้าเครื่องได้อีก

5. รักษาระยะห่างคันหน้าให้มาก

ระบบเบรกแช่น้ำอยู่ ประสิทธิภาพต่ำลง และถ้าพ้นน้ำให้ขับช้าๆ และเบรกเป็นช่วงๆ เพื่อให้ผ้าเบรกแห้ง

และสุดท้าย หากเครื่องดับกลางน้ำให้หาคนช่วยย้ายรถไปตำแหน่งที่น้ำไม่ท่วม และอย่าสตาร์ทรถ เพราะยิ่งสตาร์ทน้ำ

6. หากเครื่องดับกลางน้ำให้หาคนช่วยย้ายรถ

อย่าสตาร์ทรถ เพราะยิ่งสตาร์ท น้ำจะยิ่งเข้าระบบเครื่องยนต์


 

 

 

1. ทดสอบระบบเบรก,ไฟ,แตรรถ,พวงมาลัย

การทดสอบระบบของตัวเครื่องรถยกเป็นเรื่องสำคัญมากครับ ไม่ว่าท่านจะขับได้เก่งขนาดไหน แต่ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจจะทำให้ท่านถึงกับเสียชีวิต หรือทำให้หลายคนเป็นอันตรายได้ครับ

2. ตรวจสอบยางรถยก และระดับของน้ำมันเชื้อเพลิง

ตรวจสอบสภาพยาง และสภาพล้อ ตรวจสอบสภาพดอกยาง ตรวจสอบสภาพกะทะล้อและน๊อตยึด สำหรับอุตสาหกรรมอาหารบางประเภท ซึ่งต้องใช้โฟล์คลิฟท์ชนิดล้อไม่มีดอกยางในงานขนถ่าย ลักษณะดังกล่าวนี้

ให้ดูระยะใช้งานด้านข้างขอบยาง ว่าสึกถึงระยะที่กำหนดไว้แล้วหรือยัง หากเป็นโฟล์คลิฟท์ขนาดใหญ่ เช่น 15 ตันขึ้นไป บางรุ่นยางจะเป็นแบบจุ๊บเลสเติมลม ให้ตรวจสอบความดันลมยางด้วยเกจวัดความดันก่อนใช้งานทุกวัน

3. ตรวจดูการรั่วไหลของน้ำมัน หรือหม้อน้ำ

ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ดึงก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นขึ้นมา ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด

4. สังเกตสิ่งกีดขวางที่อยู่ด้านบน-ล่างเสมอก่อนขับ

ก่อนจะเคลื่อนรถโฟร์คลิฟท์ ต้องยกงาให้พ้นจากพื้นไม่น้อยกว่า 10 ซม. และเมื่อรถโฟร์คลิฟท์วิ่งให้ยกสูงกว่าระดับพื้นไม่เกิน 30 ซม. พร้อมทั้งยกปลายงาเข้าหาคนขับ เพื่อป้องกันวัตถุที่ยกไหลตกลงมา


 

 

คำจำกัดความพื้นที่อับอากาศ (Confined Spaces)

หมายถึง สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็นพิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น ถังน้ำมัน ถังหมัก ไชโล ท่อ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตา ห้องใต้ดิน ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันนี้

 

 

สถานที่อับอากาศ

1. มีขนาดเพียงพอที่คนสามารถเข้าไปได้

2. มีทางเข้า-ทางออกขนาดจำกัด

3. พื้นที่ที่ทางเข้า-ทางออกอยู่ไกลจากจัดปฏิบัติงาน หรือมีขนาดเล็ก

4. ไม่ได้ออกแบบมาให้เพื่อปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

 

 

มาตรการป้องกันอันตราย

- จัดทำป้าย " ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า " ติดหน้าทางเข้า-ออก และต้องขออนุญาตก่อนเข้าทำงานทุกครั้ง

- ตรวจสอบก๊าซพิษ ก๊าซติดไฟ และปริมาณก๊าซออกซิเจนต้องอยู่ระหว่าง 19.5-23.5

- ต้องมีผู้ควบคุม และมีผู้ช่วยเหลืออยู่ประจำบริเวณทางเข้า-ทางออก ตลอดเวลาที่มีการทำงาน

- จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล Personal Protective Equipment (PPE) อุปกรณ์ช่วยเหลือ และช่วยชีวิตที่เหมาะสม

 

บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผู้อนุญาต

ประเมินความอันตรายในพื้นที่ ออกหนังสืออนุญาตทำงาน

อนุมัติให้มีการทำงานในที่อับอากาศวางแผนปฏิบัติงาน ตรวจสอบพท่นที่ก่อน และระหว่างปฏิบัติงาน

 

 

ผู้คุมงาน

วางแผนการทำงาน และการป้องกันอันตราย ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงาน ชี้แจ้งหน้าที่ วิธีทำงาน การป้องกันอันตราย สั่งหยุดงานชั่วคราวได้

 

 

ผู้ปฏิบัติงาน

ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน แจ้งอันตราย เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสวมอุปกรณ์ PPE ตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน

 

 

ผู้ช่วยเหลือ

ให้ความช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงาน หากเกิดเหตุฉุกเฉินไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ ตรวจสอบรายชื่อ และจำนวนผู้เข้าปฏิบัติงาน

ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อมใช้งาน

 

 

 

 

1. ไฟฟ้าชอร์ต (Short Circuit)

มักเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ฉนวนไฟฟ้าชำรุด และเสื่อมสภาพ มีสิ่งก่อสร้าง หรือต้นไม้ ไปสัมผัสสายไฟฟ้า จนทำให้เกิดการเสียดสี และเกิดการลุกไหม้ สายไฟหลุดพื้น หรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อาจทำให้ไม่ปลอดภัยกับผู้คนที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้นๆ

 

 

2. ไฟฟ้าดูด (Electric Short)

การสัมผัสโดยตรง (DIRECT CONTACT) คือ การที่ส่วนของร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เมื่อฉนวนชำรุดแล้วเอามือไปจับ และการสัมผัสโดยอ้อม (INDIRECT CONTACT) ลักษณะนี้ไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฎอยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ เมื่อสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด




 

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

1. เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ได้รับรองจากการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

2. ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดให้เป็นไปตามหลัก และกฎความปลอดภัย โดยช่างผู้ชำนาญ

3. จำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ เช่น ฉนวนสายไฟ เต้าเสียบ เต้ารับ สวิตช์ เป็นต้น

4. บำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยช่างผู้ชำนาญอย่างสม่ำเสมอ

5. ต่อสายกราวด์ของระบบไฟฟ้าดิน

6. ใช้ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดไฟรั่ว

7. ติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ


 

 

วิธีสังเกตอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

1. จุดต่อสายไฟฟ้า ต้องแน่น ผิวหน้า หรือสายเคลือบพีวีซีจะต้องไม่ฉีกขาด

2. หากสายไฟฟ้าเก่า หรือหมดอายุ ฉนวนจะมีการแตกบวม หรือแห้งกรอบ

3. แผงสวิตช์ไฟฟ้า ต้องอยู่ในที่ปห้ง ไม่เปียกชื้น และห่างไกลจากสารเคมี หรือสารไวไฟต่างๆ

4. ขนาดของสายไฟฟ้า ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

5. สายไฟฟ้าต้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่มีความร้อน หรือถูกสิ่งของหนักกดทับอยู่


 

 

ABC SYSTEM ประกอบด้วย

1. A - Anchorage #จุดเกี่ยวยึด

การนำไปผูกติด (I - beam , lifeline เป็นต้น) สามารถยับยั้งการตกก่อนร่างกายสัมผัสพื้นดิน

 

 

2. B - Body Support #อุปกรณ์สวมใส่และรองรับร่างกาย

อุปกรณ์ที่สวมใส่กับร่างกายผู้ปฏิบัติงานเพื่อรองรับ หากมีการตก โดยเข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัวอย่างน้อยจะต้องมี D-ring ด้านหลัง 1 จุด

 

 

3. C - Connector #อุปกรณ์เชื่อมต่อ

อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับจุดเกี่ยวยึดบางชนิดจะมีอุปกรณ์ดูดซับแรงกระชากเพื่อลดการบาดเจ็บ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Visitors: 232,772