เกร็ดความรู้3 (Knowledge 3)


 

 

 

 

 



      ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ให้นายจ้างบุคคล นิติบุคคล ผู้ให้บริการฝึกอบรมตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปฏิบัติดังต่อไปนี้
          ๑. ให้นายจ้าง บุคคล นิติบุคคล ผู้ให้บริการฝึกอบรม หลักสูตรฝึกอบรมตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังต่อไปนี้ ดำเนินการจัดฝึกอบรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
          (๑) การฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามความในมาตรา ด๖ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔
          (๒) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคชั้นสูง หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร หลักสูตรการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ของสถานประกอบกิจการ และหลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย
          (๓) หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒
          (๔) หลักสูตรการฝีกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าสำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๘
          (๕) หลักสูตรการอบรมการดับเพลิงขั้นต้น ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕

 

 

  ๒. ในการฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติ ดังนี้
          (๑) การแจ้งกำหนดการก่อนดำเนินการจัดอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอริบตีมอบหมายตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
          (๒) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าอบรมตามระยะเวลาและหัวข้อวิชาตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้
          (๓) จัดให้มีเอกสารประกอบการอบรมตามรายละเอียดเนื้อหาที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
          (๔) จัดวิทยากรและจำนวนวิทยากรตามคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
          (๕) จัดให้มีผู้เข้าอบรมภาคทฤษฎีต่อการอบรมหนึ่งครั้งเท่ากับหนึ่งห้องอบรมไม่เกินหกสิบคน และภาคปฏิบัติไม่เกินสิบห้าคนต่อวิทยากรหนึ่งคน หรือเป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร

 

 

(๖) มีมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเข้าอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่อบรม
          (๗) มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรที่อบรมตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้
          (๘) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถซักถาม-โต้ตอบ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
          (๙) จัดให้มีการบันทึกเสียง หรือทั้งเสียงและภาพของผู้เข้ารับการอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาที่มีการอบรมในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
          (๑๐) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมแสดงตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนการอบรม และจัดเก็บข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้เข้ารับการอบรมทุกคนไว้เป็นหลักฐาน
          (๑๑) จัดทำรายงานผลการฝึกอบรมและส่งหลักฐานการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย หรือเก็บหลักฐานไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้การดำเนินการใดๆ ที่เกี่วข้องกับการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่ง เช่น การส่งหนังสือ เอกสารประกอบการอบรม การแจ้งกำหนดการก่อนดำเนินการจัดอบรม ให้ดำเนินการทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก

 

 

 ต. กรณีหลักสูตรการกอบรมที่ต้องมีการฝึกภาคปฏิบัติ ผู้จัดการฝึกอบรมต้องดำเนินการให้มีการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฝึก
          ใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝีกอบรมอย่างทั่วถึงทุกคน โดยให้คำนึงถึงหลักวิชาการและผลลัพธ์ที่ผู้เข้ารับการฝึกภาคปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติงาน
          ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของภาครัฐละมีมาตรการด้านสาธารณสุขรองรับในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด
          ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในแต่ละพื้นที่อย่างเคร่งครัด

๔ กรณีผู้ดำเนินการฝึกอบรมไม่ดำเนินการตามประกาศนี้ อาจถูกบังคับให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น พักใช้ เพิกถอนใบอนุญาต เป็นต้น
๕ การฝึกอบรมตามประกาศนี้ ให้มีผลใช้ดำเนินการไปจนกว่ารัฐบาลจะมีการประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) หรือจนกว่ากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

 


 

 

สาเหตุของอุบัติเหตุจากเครื่องจักร

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรนั้น ส่วนใหญ่ค่อนข้างร้ายแรง อาจถึงขั้นสูญเสียอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ มือ หรือแขน เป็นต้น

อันเป็นผลให้ผู้บาดเจ็บต้องพิการไปตลอดชีวิต สาเหตุหลักๆของการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องจักร ได้แก่

จากเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ (Hardware) ไม่มีการติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรที่เรียกว่า การ์ดหรือเซฟการ์ดที่เหมาะสม

ให้กับเครื่องจักรที่มีส่วนจุดที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะเครื่องปั้มโลหะ เครื่องจักรบางเครื่องที่มีการติดตั้งเซฟการ์ดเฉพาะด้านที่คิดว่าผู้ปฏิบัติงาน

หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะไปสัมผัสหรือทำงาน แต่ด้านที่ไม่มีเซฟการ์ดมักทำให้ช่างซ่อมบำรุงได้รับอันตรายอยู่เสมอ นอกจากนี้เครื่องจักรบางเครื่องได้มีการติดตั้ง

เซฟการ์ดเรียบร้อยแต่ปรากฏว่ารูหรือช่องตะแกรงของเซฟการ์ดนั้นมีขนาดโตเกินไป ทำให้นิ้วหรืออวัยวะของร่างกายลอดผ่านเข้าไปได้

 

การป้องกันอันตรายที่เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ก็คือการจัดทำเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ หรือที่เรียกว่า

การ์ดหรือเซฟการ์ดของเครื่องจักร โดยการออกแบบหรือตามหามาตรการป้องกันมิให้มีอันตรายได้ จึงต้องมีการจัดการทำการ์ดเครื่องจักรให้ถูกต้อง

และเหมาะสมที่สุดลักษณะของการ์ดที่ดี ควรจะมีลักษณะดังนี้

1. เป็นการป้องกันอันตรายที่ต้นเหตุ

         2. เป็นการป้องกันมิให้ส่วนของร่างกายเข้าใกล้เขตอันตราย ในบางครั้งการควบคุมหรือการตัดการส่งกำลังของเครื่องจักร อาจทำไม่ได้หรืออาจก่อความเสียหาย

แก่ระบบการทำงานของเครื่องจักรโดยส่วนรวม ดังนั้น การต่อเติมบางส่วนเข้าไปเพื่อป้องกันอันตรายได้ จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการป้องกันอันตราย

         3. ให้ความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงานได้เช่นเดียวกับที่ไม่ได้ใส่การ์ดป้องกัน การ์ดที่ดีไม่ควรรบกวนต่อการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นการมอง การจับชิ้นงาน

         4. การควบคุมการทำงาน และการตรวจสอบขนาดงาน

         5. การ์ดที่ดี ต้องไม่ขัดขวางการทำงาน

         6. การ์ดควรเหมาะสมกับงานและเครื่องจักร

         7. การ์ดควรมีลักษณะติดมากับเครื่องจักร

         8. การ์ดที่ติดตั่งแล้ว ควรง่ายต่อการตรวจและการซ่อมเครื่องจักร

         9. การ์ดควรทนทานต่อการใช้งานปกติได้ดีและง่ายต่อการบำรุงรักษา

 

ต้องฝึกอบรม TRAINING ก่อนใช้เครื่องจักร

 

 

 

ห้ามใช้เครื่องจักรที่คุณยังไม่ได้รับการฝึกอบรมการใช้งานและยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้

- ความปลอดภัยกับเครื่องจักรนั้น เริ่มจากการฝึกอบรมคุณควรเข้าใจวิธีการทำงานของเครื่องจักรและทราบว่าต้องทำอย่างไร หากเครื่องจักรเดินเครื่องผิดปกติ

- ต้องตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักรก่อนการใช้งาน และสังเกตการเคลื่อนไหว เสียง หรือกลิ่นที่ผิดปกติ รวมถึงการรั่วไหลของของเหลว

 

รู้จักและใช้ปุ่ม ปิดฉุกเฉิน เป็น EMERGENCY SHUT OFF

 

 

- ควรทราบวิธีการปิดและตัดไฟเคร่ืองจักรที่เดินเครื่องอยู่ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

- สังเกตปุ่มฉุกเฉินหรือวาล์ว เพื่อตัดแหล่งพลังงาน ซึ่งอาจเป็นไฟฟ้า ก๊าซอัดระบบไฮดรอลิค ระบบไอน้ำหรือรูปแบบอื่นๆ

 

สังเกตป้ายแจ้งเตือน SAFETY TAG

 

- ควรปฎิบัติตามป้ายสัญญาณและป้ายแจ้งเตือนอย่างเคร่งครัด

เครื่องจักรที่ไม่ปลอดภัย หรือเครื่องจักรรอการซ่อมแซม ควรมีป้ายเตือนชัดเจนและควรล็อกไว้

- อุปกรณ์ล็อกและป้ายเตือนต้องถอดออกได้ โดยบุคคลผู้ได้รับมอบหมายเท่านั้น

 

ระวังอันตรายจากความร้อนและแสงไฟ HEAT AND LIGHT

 

- เครื่องจักรบางชนิด มีอันตรายจากความร้อน แสงเลเซอร์ และแสงยูวี จึงควรติดป้ายเตือนอันตรายไว้ในจุดที่เห็นได้ชัดเจน

ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันความร้อนและแสงที่แหล่งกำเนิด

- สวมอุปกรณ์อันตรายส่วนบุคคล เช่น แว่นตา กระบังหน้า และถุงมือกันความร้อนในขณะทำงาน

 

ระวังพลังงานตกค้าง STORED ENERGY

 

เครื่องบางประเภทเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่อาจมีพลังงานสะสมตกค้าง ไว้ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องอยู่ก็อาจก่อให้เกิด การบาดเจ็บ ขึ้นได้

เนื่องจากการทำงานอาจไม่ได้หยุดทันทีหลังจากปิดการใช้งาน อาจเป็นกระแสค้างในตัวเก็บประจุไฟฟ้า ซึ่งอาจปล่อยไฟกลับมาให้เครื่องทำงานอีกครั้ง

หรือพลังงานกลที่คงเหลือใน SPRINGS และส่วนที่มีการหมุนจึงควรระมัดระวังเมื่ออยู่ใกล้เครื่องจักรเหล่านี้และควรศึกษาหลักการทำงานของเครื่องจักร เพื่อให้ทราบถึง ความอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นได้

 

หลีกเลี่ยงไฟฟ้าแรงสูงและอันตรายจากไฟฟ้า

HIGH VOLTAGE AND ELECTTRICAL HAZARDS

 

 

จัดเก็บสายไฟหรือสายเคเบิ้ลให้ถูกที่ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ากับเครื่องจักรและปิดฝาครอบให้เรียบร้อย หากพบสายไฟที่หลุดรุ่ย หรือฉีกขาดควรเร่งแจ้งช่างไฟผู้เชี่ยวชาญทำการเปลี่ยน  เพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต หรือ ไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายกับผู้สัมผัสแล้ว ยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดไฟไหม้อีกด้วย

 

ตรวจสอบก๊าซ ระบบไฮดรอลิค และระบบอัดอากาศ GAS , HYDRAULIC , AND COMPRESSED AIR

 

 

เครื่องจักรส่วนมากมีแหล่งพลังงาน จากระบบก๊าซ ระบบอัดอากาศ หรือระบบไฮดรอลิคท่อและสายส่ง จึงควรทำการตรวจเช็ครอยรั่วด้วยการสังเกตกลิ่น เสียง และ แรงดัน อยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเสียหายหรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัยได้

 

มีสติเมื่อปฏิบัติงานพื้นที่ลื่น SLIPPERY FLOORS

 

 

น้ำมัน หรือ ของเหลว บนพื้นที่รอบเครื่องจักรสามารถทำให้คุณ เกิดอันตรายร้ายแรงหากเกิดการลื่นหรือเสียการทรงตัวและหกล้มเข้าไปในตัวเครื่องจักร ฉะนั้นควรรักษาพื้นที่ให้แห้งและสะอาดเสมอ

 

ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันจุดอันตราย SAFETY GUARD

 

 

ติดตั้งฝาครอบส่วนของเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหว เช่น สายพาน รอก เฟืองโซ่และจุดหมุนอื่นๆ ซึ่งสามารถ หนีบ หรือ ดึงนิ้วมือ ผม เสื้อผ้าหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกายอันเป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บได้

 

สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PERSONAL PROTECTIVE EQUIPMENT (PPE)

 

สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเมื่อต้องทำงานที่มีความเสี่ยงเช่น สวม EAR PLUG หรือ EAR MUFF เมื่อทำงานกับเครื่องจักรที่มีเสียงดังสวมถุงมือ

         เมื่อทำงานกับส่วนที่สัมผัสความร้อนหรือ ส่วนที่มีความเหลมคมของเครื่องจักร สวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาเมื่อทำงานกับเครื่องจักรที่สามารถจับชื้นงานหรือเศษของชิ้นงาน

         ออกมาได้และสวมหน้ากากนิรภัย เมื่อต้องทำงานในบรรยากาศที่มีไอระเหยของสารเคมี ฝุ่น และ ไอโลหะ

 

อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันได้ หากคนทำงานทุกคนมี SAFETY MIND

 

 

 

 

1. เสียงดังทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินทั้งชั่วคราวและถาวร
2. เสียงดังทำให้เกิดการรบกวนการพูดสื่อความหมาย สัญญาณต่างๆ ถูกรบกวนจากเสียงดัง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
3. เสียงดังทำให้เกิดการตกใจความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติและนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

 

 

1. การวัดระดับเสียง (Sound Level Meter) เพื่อประเมินระดับเสียงตามกฎหมาย
2. การวัดเสียงวิเคราะห์ความถี่เสียง (Frequency Analyzer) เพื่อวิเคราะห์ความถี่ที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดและจัดทำแผนควบคุมเลียง
3. การวัดเสียงกระทบหรือกระแทก (Impulse or Impact Noise Meter)
กรณีมีเสียงดังมากกว่าปกติเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ
4. การวัดเสียงสะสม (Noise Dosimeter) กรณีที่ผ็ปฎิบัติงานมีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งงานเปลี่ยนระดับเสียงที่ไม่คงที่

 

 

1. ป้องกันด้วยการปรับปรุงแหล่งกำเนิด
1.1 การออกแบบอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ให้ทำงานมีเสียงเงียบ
1.2 การติดตั้งตัวดูดซับแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้เกิดเสียงดัง
1.3 การจัดที่ครอบปิดเครื่องจักร

 

 

2. ป้องกันที่ทางผ่าน
2.1 การเพิ่มระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดกับผู้ปฎิบัติงาน
2.2 การจัดทำห้องหรือฉากด้วยวัสดุดูดซับ

 

 

3. ป้องกันที่ตัวผู้ปฎิบัติงาน
3.1 การลดระยะเวลาการทำงานกับเสียงดัง
3.2 การใช้ที่ครอบหู (Ear Muffs)
3.3 ที่อุดหู (Ear Plug)

 

Visitors: 233,914