ภัยอันตรายจากไฟฟ้า

 

1. ไฟฟ้าชอร์ต (Short Circuit)

มักเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ฉนวนไฟฟ้าชำรุด และเสื่อมสภาพ มีสิ่งก่อสร้าง หรือต้นไม้ ไปสัมผัสสายไฟฟ้า จนทำให้เกิดการเสียดสี และเกิดการลุกไหม้ สายไฟหลุดพื้น หรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อาจทำให้ไม่ปลอดภัยกับผู้คนที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้นๆ

 

 

2. ไฟฟ้าดูด (Electric Short)

การสัมผัสโดยตรง (DIRECT CONTACT) คือ การที่ส่วนของร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เมื่อฉนวนชำรุดแล้วเอามือไปจับ และการสัมผัสโดยอ้อม (INDIRECT CONTACT) ลักษณะนี้ไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฎอยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ เมื่อสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด

 

 

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

1. เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ได้รับรองจากการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

2. ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดให้เป็นไปตามหลัก และกฎความปลอดภัย โดยช่างผู้ชำนาญ

3. จำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ เช่น ฉนวนสายไฟ เต้าเสียบ เต้ารับ สวิตช์ เป็นต้น

4. บำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยช่างผู้ชำนาญอย่างสม่ำเสมอ

5. ต่อสายกราวด์ของระบบไฟฟ้าดิน

6. ใช้ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดไฟรั่ว

7. ติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ

 

 

วิธีสังเกตอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

1. จุดต่อสายไฟฟ้า ต้องแน่น ผิวหน้า หรือสายเคลือบพีวีซีจะต้องไม่ฉีกขาด

2. หากสายไฟฟ้าเก่า หรือหมดอายุ ฉนวนจะมีการแตกบวม หรือแห้งกรอบ

3. แผงสวิตช์ไฟฟ้า ต้องอยู่ในที่ปห้ง ไม่เปียกชื้น และห่างไกลจากสารเคมี หรือสารไวไฟต่างๆ

4. ขนาดของสายไฟฟ้า ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

5. สายไฟฟ้าต้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่มีความร้อน หรือถูกสิ่งของหนักกดทับอยู่

Visitors: 231,852